Sunday, July 22, 2012

ไนอาซินาไมด์ (Vitamin B3)

• เสริมสร้างการทำงานของระบบประสาท และทางเดินอาหาร
• บำรุงผิวพรรณ
• ช่วยขยายและป้องกันหลอดเลือดและหัวใจ

ช่วยลดปัญหาของการเกิดสิว และริ้วรอยเล็กๆที่มา จากความแห้งกร้าน

ช่วยเพิ่มการสังเคราะห์ collagen ในชั้นผิวหนัก ทำให้ผิวเต่งตึงและเรียบเนียนขึ้น

เป็นสารปรับสภาพผิวขาวที่จัดว่าปลอดภัยที่สุด

ช่วยกระตุ้นการไหลเวียนโลหิตชั้นผิวหนังทำให้ผิวขาว ใส อมชมพูขึ้น



ประโยชน์ของไนอาซินนาไมด์
       1.เป็นส่วนประกอบของ Coenzyme ซึ่งเกี่ยวข้องกับปฏิกิริยาหลายอย่างในร่างกาย  เช่น ช่วยในการแตกตัวของน้ำย่อย และใช้โปรตีน ไขมัน และคาร์โบไฮเดรท
          2.ช่วยบำรุงสมองและประสาท
          3.ช่วยรักษาสุขภาพของผิวหนังลิ้น และเนื้อเยื่อของระบบย่อยอาหาร
          4.จำเป็นสำหรับ การสังเคราะห์ฮอร์โมนเพศ
          5.ช่วยลดระดับ Cholesterol ในเลือด

ผลของการขาดไนอาซินาไมด์
       การขาดไนอาซินาไมด์ ทำให้เกิดโรคเพลลากรา (Pellagra) ซึ่งมีอาการเริ่มแรก คือ อ่อนเพลีย เบื่ออาหาร นอนไม่หลับ น้ำหนักตัวลด ปวดแสบปวดร้อนปาก ปวดศีรษะ ปวดหลัง ต่อมามีอาการมากขึ้น คือ
         1.มีอาการอักเสบของปาก ลิ้นและลำคอ ตลอดลงไปในทางเดินอาหาร ลิ้นและริมฝีปากแดง จะทำให้รับประทานและกลืนอาหารลำบาก
         2.อาจมีอาการหลั่งกรดเกลือในกระเพาะอาหารลดน้อยลงและมีอาการซีด ซึ่งคล้ายๆ กับเป็นโรคโลหิตจางชนิด เพอร์นิเชียส (Pernicious anemia)
         3.มีอาการคลื่นไส้ อาเจียน และท้องร่วงอย่างรุนแรงตามมา
         4.มีอาการผิวหนังอักเสบนอกร่มผ้า  เช่น ตามบริเวณหลังมือ ปลายแขน ข้อศอก หลังเท้า ขา หัวเข่า และลำคอ อาการผิวหนังอักเสบเริ่มต้นด้วย ผิวหนังแดง บวมเล็กน้อย และอ่อนนุ่มคล้ายกับโดนแดดเผาถ้าไม่รีบรักษาผิวหนังจะหยาบ แห้งแตกเป็นเกร็ดและลอก ถ้าถูกแสงแดดหรือถูกความร้อน จะทำให้ผิวหนังอักเสบมากขึ้น
         5.มีอาการทางระบบประสาท ได้แก่ ความคิดสับสน มึนงง ความจำเสื่อม ตื่นเต้นง่าย ฟุ้งซ่าน ขาดสมาธิ จิตใจหดหู่ เพ้อและประสาทหลอน ถ้ามีอาการรุนแรงมากก็ถึงขั้นเสียชีวิต
         โรคเพลลากรานี้รู้จักกันดีว่าเป็นโรค 4 DS Disease ซึ่งหมายถึง มีอาการสำคัญ 4 DS คือ ผิวหนังอักเสบนอกร่มผ้า (Dermatitis) อาการท้องเสีย (Diarrhea) อาการทางจิตและประสาท (Dementia) และตาย (Death)

แหล่งอาหารที่ให้ไนอาซินาไมด์
       วิตามินนี้สามารถสังเคราะห์ได้โดยบัคเตรีในลำไส้ใหญ่ แต่ปริมาณที่สังเคราะห์ได้ไม่พอกับความต้องการของคน ต้องรับประทานจากอาหาร อาหารที่มีไนอาซินาไมด์มาก คือ ตับ เนื้อสัตว์ เป็ด ไก่ ยีสต์ ปลา ถั่วเมล็ดแห้ง และเครื่องในสัตว์ อาหารจากพืชมีไนอาซินาไมด์น้อยกว่าอาหารที่มาจากสัตว์ อาหารพวกนมมีไนอาซินาไมด์น้อยก็จริง แต่มีทริปโตเฟนมาก จึงเป็นแหล่งเกิดของไนอาซินาไมด์ทางอ้อม อาหารพวกข้าวทุกชนิดมีไนอาซินาไมด์มาก ยกเว้นข้าวโพด ข้าวโพดมีไนอาซินาไมด์และทริปโตเฟนต่ำกว่าข้าวชนิดอื่น นอกจากนี้ไนอาซินาไมด์ในข้าวโพดยังเป็นชนิดที่ไม่มีอิสระหรือรวมอยู่กับสารอื่น ทำให้ใช้ประโยชน์ไม่ได้เต็มที่

0 comments:

Post a Comment